Home

Article

07-2010การออกแบบสำหรับพื้นที่ภายในอาคาร

สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เป็นส่วนสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งนี้เป็นเพราะอุบัติเหตุของผู้สูงอายุมักเกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อม ทางกายภาพที่ผู้สูงอายุนั้นอาศัยอยู่ ยกตัวอย่างเช่น การเกิดอุบัติเหตุในบ้าน นับตั้งแต่การหกล้มเพราะเฟอร์นิเจอร์ในบ้านกีดขวางทางเดิน หรือเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่มั่นคงเวลาจับเพื่อพยุงตัวอาจทำให้หกล้มได้ สายไฟจากปลั๊กหรือสวิตซ์ไฟต่างๆ ที่วางบนพื้นอาจทำให้สะดุดหกล้มได้ ธรณีประตูอาจทำให้สะดุดล้ม แสงไฟในที่ต่างๆ ไม่พอโดยเฉพาะตรงทางเดินและบันได พื้นห้องไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องรับแขก ห้องครัว ใช้วัสดุที่ลื่น เสื่อหรือพรมเช็ดเท้าที่ลื่น และขอบสูงเกินไปเพราะอาจทำให้สะดุดได้ ราวบันไดที่ติดตั้งอย่างไม่มั่นคง มีราวบันไดข้างเดียว หิ้งเก็บของสูงเกินไปจนเอื้อมไม่ถึง นอกจากนี้แล้วการเกิดอุบัติเหตุนอกบ้าน ก็มักเกิดขึ้น ได้ง่าย เช่น ถนน-ทางเดินลื่น พื้นต่างระดับ ถนนกว้างเกินไปข้ามถนนไม่ทัน แสงไฟตามทางเดินไม่พอ

1. การเปลี่ยนแปลงความสูง

ได้ทำการสำรวจส่วนสูงของคนอเมริกันพบว่า เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วความสูงจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ คืออัตราการเตี้ยลงทั้งเพศหญิงและเพศชายจะเท่ากันคือประมาณ 1.2 ซม.เมื่ออายุเพิ่มขึ้น 20 ปี ความสูงจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 80-90 ปี ทั้งนี้เกิดจากการยุบตัวของกระดูกสันหลัง ที่เนื่องจากภาวะกระดูกพรุน โดยเฉลี่ยแล้วความสูงของร่างกายจะลดลงประมาณ 2 นิ้ว ตั้งแต่อายุ 20-70 ปี นอกจากนี้แล้วช่วงขาจะสั้นลงภาย
หลังที่ร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว คือจะเริ่มลดลงในผู้ชายเมื่ออายุ 30 ปีและในผู้หญิงเมื่ออายุ 40 ปี และยังพบว่าส่วนสูงของร่างกายจะลดลงมากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น ทั้งนี้ความสูงของร่างกายที่ลดลงนั้นส่วนใหญ่เกิดจากกระดูกสันหลังสั้นลง โดยเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังแคบลง รวมทั้งความสูงของกระดูกสันหลังก็สั้นลงด้วย อีกทั้งพบว่าภาวะกระดูกพรุนจะพบในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชาย การที่ผู้สูงอายุมีความสูงของลำตัวเตี้ยลงเมื่อเทียบกับแขนและขา จึงทำให้อัตราส่วนของความสูงต่อช่วงแขนและขากลับกันกับอัตราส่วนของความสูงต่อช่วงแขนและขาของเด็ก และช่วงกว้างขณะกางแขน(Span) ของเพศหญิงและเพศชายจะลดลงประมาณ 2% ในช่วงอายุ 65-73 ปี และอัตราการลดลงจะเพิ่มขึ้นเป็น 3% เมื่ออายุมากขึ้น แต่เมื่ออายุมากขึ้นทำให้การวัดช่วงกว้างขณะกางแขน และความสูงของร่างกายอาจคลาดเคลื่อนได้ เพราะภาวะหลังโก่งหรือขาโก่ง


2. การเปลี่ยนแปลงน้ำหนัก

ผู้สูงอายุเพศชาย 11% และเพศหญิง 16 % จะมีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์เฉลี่ยที่อายุและส่วนสูงนั้นประมาณ 20% และพบว่าน้ำหนักจะคงที่ระหว่างอายุ 65-74 ปี แล้วหลังจากนั้นน้ำหนักจะลดลง ได้มีการศึกษาความสูงและน้ำหนัก ของคนอเมริกันผิวขาว ในช่วงอายุต่างๆ พบว่าเพศชายจะมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 172 ปอนด์ (76.78 กิโลกรัม) ในช่วงอายุ 25-54 ปี แล้วหลังจากนั้นน้ำหนักจะลดลงมากกว่า 20 ปอนด์ (8.92 กิโลกรัม) ส่วนเพศหญิงมีน้ำหนักเฉลี่ยจะเท่ากันในช่วงอายุ 25-34 ปี


3. การเปลี่ยนแปลงของกระดูกและข้อ

กระดูกของกะโหลกศีรษะมีขนาดโตขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้นทั้งสองเพศ โดยพบว่าเส้นรอบวงของกะโหลกศีรษะในคนอายุ 65 ปี จะมีค่ามากกว่าตอนอายุ 20 ปี 2% ส่วนของข้อกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลังบางลง และช่องว่างระหว่างปล้องของกระดูกสันหลังก็แคบลง สำหรับภาวะกระดูกพรุนจะทำให้กระดูกกว้างขึ้น โดยจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เมื่อกระดูกสันหลังสั้นลง ทำให้หลังงอที่บริเวณส่วนบนของกระดูกสันหลังส่วนอก เป็นผลให้ร่างกายปรับตัว โดยศีรษะจะเงยขึ้นไปทางหลัง ถ้ามองดูด้านข้างจะดูเหมือนว่าศีรษะตั้งตรงอยู่บนลำตัว เนื่องจากคอสั้นลงทำให้ตำแหน่งของอวัยวะต่างๆ ทางกายวิภาคผิดไปจากคนปกติ


4. การเปลี่ยนแปลงของลักษณะท่าทาง

ในวัยสูงอายุพบว่าการเคลื่อนไหวอย่างละเอียด (skilled motor movements)จะช้าลง ส่วนการเคลื่อนไหวอย่างหยาบ (gross movements) ซึ่งสัมพันธ์กับการทรงตัวและท่าทาง การเดินมีการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดท่าเดินที่เรียกว่า "ท่าเดินผู้สูง อายุ" (senile gait) โดยจะเดินก้าวสั้นๆ และช้าลง ช่วงเวลาที่เท้าทั้ง สองข้างแตะพื้นพร้อมๆ กัน ในขณะเดินนานขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาทั้งหมดของจังหวะก้าวเดิน (double support ratio) เท้ากางออกจากกันมากกว่าปกติ หลังงอและตัวเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย แขนกางออกและแกว่งน้อยเวลาหมุนตัวเลี้ยวลำตัวจะแข็งและมีการบิดของเอวน้อย ดูคล้ายกับหมุนไปพร้อมกันทั้งตัว (en block turn) ท่าเดินนี้คล้ายกับท่าเดินของผู้สูงอายุหลังจากหกล้ม บางรายที่เรียกว่า "post-fall syndrome" หรือ "3 Fs" (fear of further falling syndrome) จะต่างกันตรงที่ในท่าเดินหลังหกล้มจะผิดปกติมากกว่าท่าเดินผู้สูงอายุโดยมีลักษณะการขาดความมั่นใจ โดยพยายามยึดจับสิ่งของใกล้เคียง เดินช้าลงมาก ระยะก้าวขวาซ้ายมักไม่เท่ากัน
โดยสรุปแล้วการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและลักษณะท่าทาง ของผู้สูงอายุทั้ง



4 ลักษณะที่กล่าวมา ทำให้สภาพทางสรีระของผู้สูงอายุ ไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ การปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นอยู่ ก็เป็นไปด้วยความยากลำบากกว่าคนวัยอื่น ทำให้เกิดแนวคิดเรื่องการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม กับสภาพทางสรีระของผู้สูงอายุ โดยแนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และลักษณะท่าทางของผู้สูงอายุทั้ง 4 ลักษณะดังกล่าวแนวคิดการออกแบบสภาพ แวดล้อมและที่พักอาศัยของผู้สูงอายุแนวคิดการออกแบบสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ มีหลักการคือ

1. มีความปลอดภัยทางกายภาพ (Physical Safety)
ความปลอดภัยทางด้านร่างกายและสุขภาพอนามัย เช่น มีที่พักเพียงพอ แยกเป็นสัดส่วน มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่ดี มีการจัด ระบบการรักษาความสะอาด มีระบบการปกป้องจากภายนอก เช่น เสียง แสง ที่ดี การทำประตูห้องนอนที่เปิดได้ 2 ด้าน จัดให้มีแสงสว่าง เพียงพอบริเวณบันไดและทางเข้า มีราวจับในห้องน้ำ พื้นกระเบื้องไม่ลื่น อุปกรณ์ปิดเปิดน้ำที่ไม่ต้องออกแรงมากการเปิด มีสัญญาณฉุกเฉินจาก หัวเตียงหรือห้องน้ำ สำหรับเรียกขอความช่วยเหลือเป็นต้น


2. สามารถเข้าถึงได้ง่าย (Accessibility)
การมีทางลาดสำหรับรถเข็น ความสูงของตู้ที่ผู้สูงอายุสามารถหยิบของได้สะดวก หรือการจัดให้อยู่ใกล้แหล่งบริการต่างๆ เช่น วัด โบสถ์ ห้องสมุดโรงละคร สถาบันเพื่อการศึกษา บริการด้านสุขภาพ อยู่ภายในระยะที่สามารถเดินถึงได้ (Within walking distance) และการจัดให้ใกล้แหล่งระบบขนส่งมวลชน และใกล้แหล่งชุมชนเดิมเพื่อให้ญาติมิตรสามารถมาเยี่ยมเยียนได้สะดวก (Easily accessible)

3. สามารถสร้างแรงกระตุ้น (Stimulation)
การตกแต่งสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยที่มีความน่าสนใจ การเลือกใช้สีที่เหมาะสม มีความสว่างและชัดเจน จะทำให้การใช้ชีวิตดูกระชุ่มกระชวย ไม่ซึม เศร้า และการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ กระตุ้นให้เกิดการนำความสามารถต่างๆ ของผู้สูงอายุมาใช้อย่างเต็มที่ เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ใช้ความสามารถที่มีก่อประโยชน์ให้กับชุมชน เช่น จัดที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุไว้ใกล้กับโรงเรียนสอนเด็กเล็กหรือห้องสมุด เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยยืดเวลาที่ผู้สูงอายุสามารถที่จะดำรงชีวิตได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น เกิดความรู้สึกเป็นประโยชน์และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ชุมชนเองก็จะได้คุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นจากการที่ได้เก็บเกี่ยวประโยชน์จากความสามารถของผู้สูงอายุ โดยสามารถการจัดการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ให้ยังคงใกล้แหล่งชุมชน เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน การจัดที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุให้กระจายไปตามชุมชนไม่เกิน 20-30 หน่วย โดยไม่แยกออกไปอย่างโดดเดี่ยว

4. ดูแลรักษาง่าย (Low maintenance)
บ้านสำหรับผู้สูงอายุควรจะออกแบบให้ดูแลรักษาง่ายเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยเหตุนี้บ้านทั่วๆ ไปควรจะเล็ก ถ้าเป็นหลังใหญ่ควรจะมีห้องซึ่งง่ายต่อการปิดเอาไว้ เพื่อสะดวกสบายในการดูแล บ้านอาจจะมีบานเลื่อนอลูมิเนียมป้องกันพายุ และสนามหญ้าที่มีพุ่มไม้เตี้ยๆ เพื่อลดงานสนาม


Back
Smart Series บ้านสำหรับการเริ่มต้นครอบครัวใหม่ Prestige Series บ้านที่ตอบสนองความต้องการในการใช้ชีวิตที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร Residence Series บ้านที่สร้างสรรค์ความสุขให้ครอบครัวอย่างสมบูรณ์แบบตอบสนองชีวิตที่เหนือระดับ NewDesign Series ตรงใจทุกรายละเอียด ลงตัวทุกความต้องการ เลือกดีไซน์ได้ในแบบคุณ

Makerhome Contact Center 02 556 0888